Buy with Confidence with GIT

บริษัท สยามโกลด์แกลอรี่ จำกัด ในเครือ “บ้านช่างทองกรุ๊ป” ได้ร่วมโครงการ ซื้อด้วยความมั่นใจ (Buy With Confidence: BWC) เพื่อสร้างมาตรฐานและความเชื่อมั่นต่ออุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการที่เข้าร่วมโครงการ และจำหน่ายสินค้าได้ง่ายขึ้นผ่านระบบ QR CODE

โดยบริษัทเป็นสมาชิกรหัสที่ “C3670”

ขั้นตอนการซื้ออัญมณีและเครื่องประดับคุณภาพมาตรฐาน


รายละเอียดของโครงการสามารถดูได้เพิ่มเติมที่ https://bwc.git.or.th

The 61st Bangkok Gems & Jewelry Fair 2018

บ้านช่างทอง กรุ๊ป ร่วมกับ สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์กรมหาชน) ได้จัดนิทรรศการ ‘จากท้องถิ่นสู่เมือง เลื่องชื่ออัตลักษณ์’ ภายใต้โครงการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับใยส่วนภูมิภาค ในงานแสดงสินค้า Bangkok Gems & Jewelry Fair 61st Edition ที่ Challenger Hall 1-3, IMPACT เมืองทองธานี

โดยทาง บ้านช่างทอง กรุ๊ป ได้พัฒนารูปแบบเครื่องประดับทองเพชรบุรีให้มีความสวยงามร่วมสมัย
สามารถรับชมเครื่องประดับทองคำ ณ บริเวณหน้าทางเข้าหลักอาคารชาเลนเจอร์ ฮอลล์ 2

วันเจรจาธุรกิจ
21 – 23 กุมพาพันธ์ 2561 เวลา 10:00 – 18:00
วันขายปลีก
24 – 25 กุมพาพันธ์ 2561 เวลา 10:00 – 17:00

ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
http://www.bkkgems.com/
https://www.goldgega.com/fashion-lifestyle/BGJF_2017/

ดอกมะลิ วันแม่

วันแม่ของทุกปี เราจะใช้ดอกมะลิไหว้แม่ แต่เคยสงสัยกันหรือไม่ค่ะ ว่าทำไมดอกไม้ประจำวันแม่ ถึงต้องเป็นดอกมะลิ

ดอกไม้ดอกเล็ก ๆ สีขาวบริสุทธิ์ที่มีกลิ่นหอมชวนดมอย่าง “ดอกมะลิ” ถูกนำมาใช้เป็นดอกไม้สัญลักษณ์ “วันแม่” เพราะดอกมะลิเปรียบเสมือนความรักอันบริสุทธิ์ของแม่ที่มีให้ลูกน้อยไม่มีวันเสื่อมคลาย เหมือนกับความหอมของดอกมะลิที่หอมนาน และออกดอกตลอดทั้งปี นอกจากนี้ คนไทยยังนิยมนำดอกมะลิมาร้อยมาลัยบูชาพระ ดังนั้น ดอกมะลิ จึงเปรียบเสมือนการบูชาแม่ผู้มีพระคุณของลูก ๆ ทุกคน

อย่างไรก็ตาม ดอกมะลิ ดอกไม้ไทยแท้ชนิดนี้ ไม่ได้มีดีแค่ความหอม หรือนำไปร้อยมาลัย แต่ยังเป็นดอกไม้ที่มีประโยชน์อีกมากมาย 
รวมทั้งแฝงไว้ด้วยสรรพคุณทางยาในการช่วยบำบัดและรักษาอาการเจ็บป่วยได้อย่างดีเยี่ยมโดยที่เราคาดไม่ถึง

ดอกมะลิ  เป็นไม้ดอกไม้ประดับที่มีกลิ่นหอมเย็นใจให้ความรู้สึกสุขสงบ มีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Jasmine ส่วนชื่อทางภาษานักพฤกษศาสตร์ที่ใช้เรียกขานกัน คือ Jasminum sambac (L.) Ait. เป็นพืชในวงศ์  Oleaceae ส่วนบ้านเราไม่ว่าจะเป็นภาคใด ที่ไหนก็เรียกว่า ดอกมะลิ

ดอกมะลิ กับลักษณะทางพฤกษศาสตร์ เป็นไม้พุ่มขนาดเล็กที่มีความสูงไม่มากนัก สูงอย่างเต็มที่ส่วนใหญ่ไม่เกิน 2 เมตร ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ดอกมะลิได้รับความนิยม จากคนรักต้นไม้ให้เป็นตัวเลือกแรกที่จะปลูกไว้ในบ้าน มะลิเป็นไม้พุ่มที่แตกแขนงกิ่งก้านสาขาออกมามากมาย กิ่งอ่อนจะมีขนสั้น ๆ นุ่มมือ ใบเป็นแบบใบเดี่ยวออกในลักษณะตรงข้ามกัน ใบค่อนข้างกลม ปลายใบมน สีเขียวเข้ม ดอกเป็นแบบดอกเดี่ยวหรือออกเป็นช่อก็ได้ โดยแต่ละช่อมี 2-3 ดอก กลีบเลี้ยงเป็นหลอดสีขาว กลีบดอกสีขาวนวลตา กลิ่นหอมอวล ไม่ฉุนจัดจนเกินไป เลี้ยงง่าย เติบโตไว ไม่ต้องการความเอาใจใส่ หรือต้องดูแลอะไรเป็นพิเศษ

ดอกมะลิ กับคุณค่าและคุณประโยชน์ คนสมัยก่อน นอกจากจะนิยมปลูกดอกมะลิเอาไว้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ เพื่อชื่นชมกับดอกสีขาวสวยนุ่มนวลชวนมองแล้ว เขายังเก็บดอกมะลิตูมมาใส่พาน หรือถ้ามีเวลาว่างพอก็จะนำมาร้อยเป็นมาลัยกราบบูชาพระอีกด้วย  กลิ่นหอมอ่อน ๆ อบอวลของดอกมะลิที่อยู่ในห้องพระ ให้ความรู้สึกสงบใจอีกต่างหาก

นอกจากนี้ยังนำดอกมะลิมาลอยในน้ำดื่มเย็น ๆ ให้แขกผู้มาเยือนได้ดื่มกันอย่างชื่นอกชื่นใจ หรือจะนำดอกมะลิไปลอยในน้ำเชื่อม กินกับขนมหวานไทย ก็ทำให้มีกลิ่นหอมชวนทาน แต่ทั้งนี้ต้องมั่นใจว่า ดอกมะลิที่นำมาใช้ไม่ได้ฉีดยาฆ่าแมลง

ส่วนประโยชน์ทางสมุนไพรของมะลิก็มีแทบทุกส่วนก็ว่าได้ ไล่กันไปตั้งแต่รากเรื่อยไปจนถึงดอกทีเดียว รากของมะลิแก้ได้สารพัดโรค ทั้งปวดเมื่อย เคล็ดขัดยอก เลือดออกตามไรฟัน รวมทั้งช่วยรักษาหลอดลมอักเสบได้ด้วย หากนำรากมาฝนกินกับน้ำ แก้ร้อนในได้ดี คนที่ป่วยเป็นโรคเกี่ยวกับทรวงอก ให้นำรากมาประมาณ 1-1.5 กรัม ต้มน้ำกินก็ช่วยได้

ส่วนใบใช้แก้ไข้ที่เกิดจากอาการเปลี่ยนแปลงได้ดี รวมทั้งรักษาอาการปวดท้อง แน่นท้อง ท้องเสีย หากนำใบมาตำแล้วละลายกับน้ำปูนใส แต้มแผลฟกช้ำ แผลเรื้อรัง โรคผิวหนังจะหายไวขึ้น ตลอดจนช่วยบำรุงสายตา และขับน้ำนมสตรีที่มีครรภ์ได้ด้วย

สุดท้ายคือส่วนของดอกมะลิ นอกจากความสวยและความหอมแล้ว ยังแก้โรคบิด อาการปวดท้อง หากตำให้ละเอียดพอกที่ขมับ แก้อาการปวดหัวและปวดหูชั้นกลางได้ แถมยังช่วยรักษาแผลพุพอง แก้พิษแมลงสัตว์กัดต่อย รวมทั้งเป็นยาบำรุงหัวใจได้อย่างดีเยี่ยมอีกขนานหนึ่งด้วย นี่แหละคุณค่าของ ดอกมะลิ ดอกไม้ไทยที่หาได้ง่าย ๆ ใกล้ ๆ ตัว ใกล้ใจ และใกล้มือจริง ๆ 

วันอาสาฬหบูชา

วันอาสาฬหบูชา เป็นวันเพ็ญเดือนอาสาฬหะ (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 8) ซึ่งตรงกับวันอังคารที่ 19 กรกฎาคม 2559 เป็นวันที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร แก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ทำให้พราหมณ์โกณฑัญญะเกิดความเลื่อมใส ในพระธรรมของพระพุทธเจ้า จนได้ดวงตาเห็นธรรมจึงขออุปสมบทในพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้า ด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ทำให้มีพระรัตนตรัยครบองค์สามบริบูรณ์เป็นครั้งแรกในโลก คือ มีทั้งพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์

การแสดงพระธรรมเทศนา มีหลักธรรมสำคัญ 2 ประการ คือ

  1. มัชฌิมาปฏิปทา(ทางสายกลาง) โดยมีหลักปฏิบัติเป็นองค์ประกอบ 8 ประการ เรียกว่า มรรคมีองค์ 8 ได้แก่
  2. สัมมาทิฏฐิ (การเห็นชอบ) คือ รู้เข้าใจถูกต้อง เห็นตามที่เป็นจริง
  3. สัมมาสังกัปปะ (การดำริชอบ) คือ คิดสุจริตตั้งใจทำสิ่งที่ดีงาม
  4. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ) คือ กล่าวคำสุจริต
  5. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ) คือ ทำการที่สุจริต
  6. สัมมาอาชีวะ (อาชีพชอบ) คือ ประกอบสัมมาชีพหรืออาชีพที่สุจริต
  7. สัมมาวายามะ (พยายามชอบ) คือ เพียรละชั่วบำเพ็ญดี
  8. สัมมาสติ (ระลึกชอบ) คือ ทำการด้วยจิตสำนึกเสมอ ไม่เผลอพลาด
  9. สัมมาสมาธิ (ตั้งจิตมั่นชอบ) คือ คุมจิตให้แน่วแน่มั่นคงไม่ฟุ้งซ่าน
  10. อริยสัจ 4(ความจริงอันประเสริฐของอริยะ) ซึ่งคือบุคคลที่ห่างไกลจากกิเลส ได้แก่ 
  11. ทุกข์ (ปัญหาทั้งหลายที่เกิดขึ้นจากมนุษย์) บุคคลต้องกำหนดรู้ให้เท่าทันตามความเป็นจริง
  12.  สมุทัย (เหตุเกิดแห่งทุกข์ หรือสาเหตุของปัญหา) ตัวการสำคัญของทุกข์ คือ ตัณหา
  13. นิโรธ (การดับทุกข์) เริ่มด้วยอยู่อย่างรู้เท่าทันโลกและชีวิต ดำเนินชีวิตด้วยการใช้ปัญญา
  14. มรรค (กระบวนวิธีแห่งการแก้ปัญหา) ได้แก่ มรรคมีองค์ 8 ประการดังกล่าวข้างต้น

วันเข้าพรรษา (วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8) ตรงกับวันพุธที่ 20 กรกฎาคม 2559 เป็นวันสำคัญที่พระสงฆ์จะอธิษฐานว่าจะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกว่า “จำพรรษา” ด้วยเหตุที่พระภิกษุในสมัยพุทธกาล มีหน้าที่จะต้องจาริกโปรดสัตว์ และเผยแผ่พระธรรมคำสั่งสอนแก่ประชาชนไปในที่ต่าง ๆ ไม่จำเป็นต้องมีที่อยู่ประจำ แม้ในฤดูฝน ชาวบ้านจึงตำหนิว่าไปเหยียบข้าวกล้าและพืชอื่น ๆ จนเสียหาย พระพุทธเจ้าจึงทรงวางระเบียบการจำพรรษาให้พระภิกษุอยู่ประจำที่ตลอด 3 เดือน ในฤดูฝน คือ เริ่มตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี เรียกว่า “ปุริมพรรษา” และออกพรรษาในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 เรียกว่า “ปัจฉิมพรรษา” เว้นแต่มีเหตุจำเป็น

            กิจกรรมวันอาสาฬหบูชา ทำบุญตักบาตร รักษาศีล ฟังพระธรรมเทศนา สวดมนต์ และในตอนค่ำก็จะมีการเวียนเทียนที่เป็นการสืบทอดประเพณีอันดีงามของไทย

กิจกรรมวันเข้าพรรษา ทำบุญตักบาตร ถวายเครื่องสักการะบูชา ดอกไม้ ธูปเทียน และเครื่องใช้ พร้อมฟังเทศน์ ฟังธรรม และรักษาอุโบสถศีลกันที่วัด บางคนอาจตั้งใจงดเว้นอบายมุขต่าง ๆ เป็นกรณีพิเศษ เช่น งดเสพสุรา งดฆ่าสัตว์ เป็นต้น บิดามารดามักจะจัดพิธีอุปสมบทให้บุตรหลานของตน โดยถือกันว่าการเข้าบวชเรียนและอยู่จำพรรษาในระหว่างนี้ และมีประเพณีสำคัญที่ขาดไม่ได้เลย คือ “ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา” ประเพณีที่กระทำกันเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษา

ดังนั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายควรเข้าวัด เพื่อน้อมระลึกถึงคุณพระรัตนตรัย อีกทั้งยังเป็นการช่วยชะล้างจิตใจให้ปลอดโปร่งผ่องใส จะได้มีร่างกายและจิตใจที่พร้อมสำหรับการดำเนินชีวิต

วันวิสาขบูชา Visakha Puja (Vesak Day)

วิสาขบูชา Visakha Puja เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากลของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก ซึ่งตรงกับวันศุกร์ที่ ๒๐ พฤษภาคม ๒๕๕๙ เป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา ๓ เหตุการณ์ คือ

เหตุการณ์ที่ ๑ เมื่อ ๘๐ ปี ก่อนพุทธศักราช เป็นวันประสูติของเจ้าชายสิทธัตถะ ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในพระราชอุทยานลุมพินีวัน ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศเนปาล

เหตุการณ์ที่ ๒ เมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น วันที่เจ้าชายสิทธัตถะได้บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ ตรัสรู้เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มโพธิ์พฤกษ์ ริมฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม ปัจจุบันอยู่ใน พุทธคยา เขตประเทศอินเดีย พระองค์ทรงเริ่มเจริญสมถภาวนา ทำจิตใจให้เป็นสมาธิ จนบรรลุปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน และจตุตถฌาน ตามลำดับ แล้วทรงทำให้ฌานอันเป็นองค์แห่งปัญญา ๓ ประการ เกิดขึ้นในยามทั้ง ๓ คือ

–       ปฐมยาม ทรงบรรลุ ปุพเพนิวาสานุสสติญาณ คือ ทรงสามารถระลึกชาติได้

–       มัชฌิมยาม ทรงบรรลุ จุตูปปาตญาณ คือ รู้การตายการเกิดของสัตว์ทั้งปวง หรืออีกนัยหนึ่งเรียกว่าได้ ทิพยจักษุญาณ คือ ตาทิพย์

–       ปัจฉิมยาม พระองค์ได้ทรงพิจารณาปฏิจจสมุปบาท คือ ธรรมที่อาศัยซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นเป็นเหตุเป็นผลของกันและกันต่อเนื่องเสมือนกับลูกโซ่ จนได้รู้แจ้งซึ่งอริยสัจธรรม ๔ ประการ (อริยสัจ ๔) คือ

o  ทุกข์ ความทุกข์ สภาวะที่ทนได้ยาก ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ (ปัญหา)

o  สมุทัย สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (สาเหตุของปัญหา)

o  นิโรธ ความดับไปซึ่งต้นเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์ (จุดมุ่งหมายในการแก้ปัญหา)

o  มรรค ทนทางที่จะดับทุกข์ได้ (วิธีการแก้ปัญหา)

–       พระองค์ทรงบรรลุ อาสวักขยญาณ คือ ความรู้เป็นเหตุสิ้นอาสวกิเลสทั้งปวง เมื่อนั้นจิตของพระองค์ก็หลุดพ้นจากกิเลสและอาสวะทั้งปวง ไม่มีความยึดถือมั่นด้วยตัณหาอุปาทาน อันเป็นการได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอย่างสมบูรณ์ ในยามที่ ๓ แห่งคืนวิสาขมาส ก่อนพุทธศักราช ๔๕ ปีตั้งแต่นั้น พระองค์ทรงได้รับการถวายพระนามบัญญัติโดยคุณนิมิตแห่งพระองค์ว่า “อรหํ” เป็นพระอรหันต์ผู้ห่างไกลจากกิเลสทั้งปวง และ “สมฺมาสมฺพุทฺโธ” เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้ได้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง หามีผู้ใดเป็นครูอาจารย์ไม่ ต่อมา พระองค์ได้ทรงนำสิ่งที่พระองค์ทรงรู้แจ้งในวันตรัสรู้นี้มาเผยแก่หมู่ชนทั้งหลาย พระองค์จึงทรงได้รับขนานพระนามว่า “สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า” ทรงกอปรไปด้วย “พระบริสุทธิคุณ”, “พระปัญญาคุณ” ผู้ซึ่งได้ทรงสั่งสอนประกาศพระสัจธรรม คือ ความจริงของโลก แก่ชนทั้งปวงโดย “พระมหากรุณาธิคุณ”

เหตุการณ์สุดท้าย เมื่อ ๑ ปี ก่อนพุทธศักราช เป็น วันเสด็จดับขันธปรินิพพานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ใต้ร่มสาลพฤกษ์ ในสาลวโนทยาน พระราชอุทยานของเจ้ามัลละ เมืองกุสินารา ปัจจุบันอยู่ในเขตประเทศอินเดีย พระปัจฉิมโอวาทเตือนเป็นครั้งสุดท้ายว่า ภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้ เราจักเตือนพวกเธอทั้งหลายว่า “สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา. พวกเธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตนและท่าน ให้ถึงพร้อมด้วยความไม่ประมาทเถิด”

โดยทั้งสามเหตุการณ์ได้เกิด ณ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ หรือวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ เรียกการบูชาในวันนี้ว่า “วิสาขบูชา” ย่อมาจาก “วิสาขปุรณมีบูชา” แปลว่า “การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ” และมักตรงกับเดือนพฤษภาคมหรือมิถุนายนตามปฏิทินจันทรคติของไทย โดย ถ้าปีใดมีเดือน ๘ สองหน ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน ๗ และได้นิยมประกอบพิธีบำเพ็ญบุญกุศลและประกอบพิธีพุทธบูชาต่าง ๆ เพื่อเป็นการถวายสักการะรำลึกถึงแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าสืบมาจนปัจจุบัน และพุทธสังเวชนียสถานที่เกี่ยวข้องกับวันวิสาขบูชาได้รับการขึ้นทะเบียนให้เป็นมรดกโลก

วิสาขบูชา มีการนับถือปฏิบัติกันในหลายประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาทั้งมหายานและเถรวาททุกนิกายมาช้านานแล้ว ในบางประเทศเรียกพิธีนี้ว่า “พุทธชยันตี” (Buddha Jayanti) เช่นใน อินเดีย และศรีลังกา ในปัจจุบันมีหลายประเทศที่ยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็นวันหยุดราชการ เช่น ประเทศอินเดีย ประเทศไทย ประเทศพม่า ประเทศศรีลังกา สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เป็นต้น (ส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีสัดส่วนประชากรที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาทมากที่สุด) ในฝ่ายของประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาเถรวาทในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ได้รับคติการปฏิบัติบูชาในวันวิสาขบูชามาจากลังกา (ประเทศศรีลังกา) ในประเทศไทยปรากฏหลักฐานว่ามีการจัดพิธีวิสาขบูชามาตั้งแต่สมัยสุโขทัย

วันวิสาขบูชา ถือได้ว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาสากล เพราะพุทธศาสนิกชนพร้อมใจกันจัดพิธีพุทธบูชาในวันนี้พร้อมกันทั่วทั้งโลก (ซึ่งไม่เหมือนวันมาฆบูชา และวันอาสาฬหบูชา ที่เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาที่นิยมนับถือกันเฉพาะในประเทศไทย, ลาว, และกัมพูชา) และด้วยเหตุนี้ ประชุมใหญ่สมัชชาสหประชาชาติจึงยกย่องให้วันวิสาขบูชาเป็น วันสำคัญสากล (International Day) ตามข้อมติสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติที่ ๕๔/๑๑๒ ลงวันที่ ๑๓ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๒

กิจกรรมต่าง ๆ ที่ถือปฏิบัติกัน คือ การทำบุญตักบาตร การรักษาศีลส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ลด ละ เลิกอบายมุข ทำความดี ทำจิตใจให้บริสุทธิ์ผ่องใส การปฏิบัติธรรมน้อมนำหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาไปประพฤติปฏิบัติสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมที่ดีมีคุณธรรมอย่างยั่งยืน ต่อด้วยการฟังพระธรรมเทศนา และการเวียนเทียน เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

            ต้นโพธิ์ ใบโพธิ์ หรือส่วนประกอบอื่นๆ ของต้นโพธิ์ สื่อถึงปัญญา นั่นคือจุดเริ่มต้นแรงบันดาลใจของ Goldlery ในการสรรค์สร้าง แหวนรูปใบโพธิ์ที่เป็นสัญลักษณ์แห่งปัญญา

วันพืชมงคล

วันแรกนาขวัญ หรือวันพืชมงคล ถือว่าเป็นวันเกษตรกรไทย เพื่อระลึกถึงความสำคัญของเกษตรกรรม วันพืชมงคลจะจัดไม่ตรงกันทุกปีขึ้นกับสำนักพระราชวังจะกำหนดขึ้น ในปีนี้ตรงกับวันที่ 9 พฤษภาคม 2559 โดยมีการประกอบพิธีสองอย่าง คือ

 

  1. พระราชพิธีพืชมงคล เป็นพิธีทางพุทธศาสนา เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหามงกุฎ (รัชกาลที่ 4) มีพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ เป็นพิธีสงฆ์เป็นพิธีทำขวัญเมล็ดพืชพันธุ์ต่าง ๆ เช่น ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเหนียว ข้าวฟ่าง ข้าวโพด ถั่ว งา เป็นต้น ฯลฯ มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เมล็ดพันธุ์เหล่านั้น ปราศจากโรคภัยและให้อุดมสมบูรณ์เจริญงอกงามดี
  2. พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ เป็นพิธีทางศาสนาพราหมณ์ กระทำสืบเนื่องมาแต่สมัยสุโขทัย เริ่มต้นการไถนาเพื่อหว่านเมล็ดข้าว มีจุดมุ่งหมายที่จะให้เป็นอาณัติสัญญาณว่า บัดนี้ฤดูกาลแห่งการทำนาและเพาะปลูกได้เริ่มขึ้นแล้ว

 

พระราชพิธีทั้งสองนี้ ได้กระทำเต็มรูปแบบมาเรื่อย ๆ จนถึงปี พ.ศ. 2479 ได้เว้นไปชั่วระยะเวลาหนึ่ง ด้วยสถานการณ์โลกและบ้านเมืองอยู่ในภาวะที่ไม่สมควรจะจัดงานใด ๆ จึงว่างเว้นไป 10 ปี ต่อมาทางราชการพิจารณาเห็นว่าประเทศไทย เป็นประเทศกสิกรรม โดยเฉพาะทำนาควรจะได้ฟื้นฟู ประเพณีเก่าอันเป็นมงคลแก่การเพาะปลูก ดังนั้น ใน พ.ศ. 2490 จึงกำหนดให้มีพิธีพีชมงคลขึ้นอีก แต่มีแค่พระราชพิธีพืชมงคลเท่านั้น (พิธีเต็มรูปแบบว่างเว้นไปถึง 23 ปี) ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2503 จึงจัดให้มีราชพิธีจรดพระนาคัลแรกนาขวัญร่วมกับพิธีพืชมงคลนับแต่นั้นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบันนี้จึงจัดให้เป็นวันสำคัญของชาติ

 

พระราชพิธีพืชมงคล (วันที่หนึ่ง) ประกอบพิธีในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในพระบรมมหาราชวังโดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปยังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เสด็จพระราชดำเนินขึ้นสู่พระอุโบสถ ทรงจุด ธูป เทียนถวายนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรและพระพุทธรูปที่สำคัญ พระราชาคณะถวายศีลจบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระสุหร่ายถวายดอกไม้บูชา พระคันธาราษฎร์ ทรงอธิษฐานเพื่อความสมบูรณ์แห่งพืชผลของราชอาณาจักรไทย แล้วพระมหาราชครูประธานคณะพราหมณ์ อ่านประกาศพระราชพิธีพืชมงคล พระสงฆ์ 11 รูป เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงหลั่งน้ำสังข์ พระราชทานใบมะตูม ทรงเจิม พระราชทานธำมรงค์ กับพระแสงปฎัก สำหรับตำแหน่งพระยาแรกนาแก่ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ แล้วทรงหลั่งน้ำสังข์ พระราชทานใบมะตูม ทรงเจิมแก่เทพีผู้ที่จะเข้าในการพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ขณะนั้นพระสงฆ์เจริญชัยมงคลคาถา พนักงานประโคมฆ้องชัย เครื่องดุริยางค์ หลังจากนั้นทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรม พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระอุโบสถเสด็จพระราชดำเนินกลับ

พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ (วันที่สอง)

กระทำในตอนเช้าของรุ่งขึ้นอีกวันหนึ่ง ณ บริเวณมณฑลพิธีท้องสนามหลวง โดยจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นพระยาแรกนาจุดธูปเทียนถวายสักการะเทวรูปสำคัญในโรงพิธีพรามณ์อันได้ เทวรูปพระอิศวร พระอุมาภควดี พระพรหม พระพิฆเนศ พระนารายณ์ พระลักษมี พระมเหศวรีและพระพลเทพ แล้วจะได้ตั้งสัตยาธิษฐาน หยิบผ้านุ่งแต่งกาย ไว้พร้อม เมื่อพระยาแรกนาตั้งสัตยาธิษฐานหยิบได้ผ้านุ่งผืนนั้นทับผ้านุ่งเดิมอีกชั้นหนึ่ง นุ่งอย่างบ่าวขุนเตรียมออกแรกนา

ครั้นเวลาประมาณ 08.30 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดยรถยนต์พระที่นั่งจากพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ไปยังพลับพลาที่ประทับบริเวณมณฑลพิธีสนามหลวง เพื่อเป็นองค์ประธานในงานพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ

เมื่อถึงฤกษ์พิธีไถหว่าน พระยาแรกนาพร้อมเทพีออกจากโรงพิธีพราหมณ์ มีราชบัณฑิตและพราหมณ์นำผ่านพลับพลาหน้าพระที่นั่ง พระยาแรกนาเข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทถวายบังคม แล้วไปยังลานแรกนา เจ้าพนักงาน จูงพระโคเทียมแอก พระยาแรกนาเจิมพระโคและคันไถ จับหางไถแล้วไถดะไปโดย ทักษิณาวรรต ๓ รอบ ไถแปร ๓ รอบ พร้อมหว่านเมล็ดพันธุ์ข้าวพนักงานประโคมฆ้องชัยเครื่องดุริยางค์ แล้วไถกลบอีก 3 รอบ เพื่อกลบเมล็ดพันธุ์ข้าวลงในดิน เสร็จแล้วพนักงานปลดพระโคออกจากแอก พระยาแรกนาและเทพีกลับไปยังโรงพิธีพราหมณ์

พราหมณ์เสี่ยงทายของกิน 7 สิ่ง ตั้งเลี้ยงพระโค เมื่อพระโคกินของสิ่งใด โหรหลวงจะได้ถวายคำพยากรณ์เสร็จแล้วจะได้ เบิกเกษตรกรดีเด่นแห่งชาติ ตัวแทนสถาบันเกษตรกร ดีเด่นแห่งชาติ ตัวแทนสหกรณ์ดีเด่นแห่งชาติ และปราชญ์เกษตรของแผ่นดินสาขาต่าง ๆ เข้ารับพระราชทานโล่เกียรติคุณ หลังจากนั้นจะได้แห่พระยาแรกนาเป็นกระบวนอิสริยยศออกจากโรงพิธีพราหมณ์ พระยาแรกนากราบถวายบังคม แล้วเข้ากระบวนไปขึ้นรถยนต์หลวงพร้อมด้วยเทพีไปรอเข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถที่แปลงนาทดลองใน โครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินโดย รถยนต์พระที่นั่งออกจากพลับพลาพิธีไปยังแปลงนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา พระยาแรกนาได้เข้ากราบถวายบังคม พระยาแรกนาและเทพีนำเมล็ดพันธุ์ข้าวไปหว่านในแปลงนาทดลองในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา เพื่อปลูกไว้ใช้ใน พระราชพิธีฯ ในปีต่อไป เมื่อพระยาแรกนาหว่านข้าวเสร็จแล้ว เข้าไปกราบถวายบังคมพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและ สมเด็จพระนางเจ้า พระบรมราชินีนาถ เป็นอันเสร็จ พระราชพิธี.

 

ประชาชนเก็บเมล็ดพันธุ์ข้าวที่พระยาแรกนาหว่านในพระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญหลังสิ้นสุดพระราชพิธี

วันจักรี

วันจักรี เป็นวันที่ระลึกถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมบรมราชวงศ์จักรี

  วันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีและทรงสถาปนากรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงของไทย ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. 2416 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระบรมรูปพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 4 พระองค์ ได้แก่ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณเป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท แต่มีการย้ายสถานที่ในการประดิษฐานหลายครั้ง เช่น พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยมหาปราสาท เป็นต้น ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ย้ายพระบรมรูปมาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ 5 พระบรมชนกนาถ จนกระทั่ง ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2461 การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง 5 รัชกาล จึงสำเร็จลุล่วง และได้มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ 6 เมษายนปีนั้น และต่อมาโปรดฯ ให้เรียกวันที่ 6 เมษายนว่า “วันจักรี”

Goldlery Happiness Traveling

เทอร์ควอยซ์ (Turquoise) เป็นอัญมณีหินสีฟ้าสดใส สีฟ้าของเทอร์ควอยส์ยังช่วยคลายเครียด ก่อให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ และจินตนาการ ช่วยเสริมสร้างสติปัญญา เหมาะสำหรับอาชีพที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ เช่น ครีเอทีฟ นักโฆษณา  ศิลปินแขนงต่างๆ เป็นต้นสีของเทอร์ควอยส์มีตั้งแต่สีฟ้าไปจนถึงสีเขียวอมเทา แต่ที่นิยมมากที่สุดและมีคุณภาพดีที่สุด คือ สีฟ้าของท้องฟ้า ในเนื้ออัญมณีมักจะมีลายเส้นบาง ๆ พาดพันไปมาเป็นลวดลายสวยงาม

รูบี้ ซอยไซท์ (Ruby Zoisite) เป็นอัญมณีหินสีเขียวอมม่วงแดง ช่วยเสริมสร้างสติปัญญา เพิ่มความมีชีวิตชีวา เสริมความกล้าหาญ กล้าคิดกล้าแสดงออก เสริมเสน่ห์ให้กับผู้สวมใส่

อความารีน (Aquamarine) เป็นอัญมณีหินสีเขียวน้ำทะเลจนถึงสีฟ้าเข้ม นำความสมบูรณ์มาให้ ช่วยให้จิตใจสงบเยือกเย็น มีความสุข เหมาะเป็นของขวัญวันแต่งงานทำให้ชีวิตคู่ยืนยาวและมีความสุข

วันมาฆบูชา

วันมาฆบูชา หรือวันจาตุรงคสันนิบาต (วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3) เป็นวันที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ แก่พระสงฆ์เป็นครั้งแรก เหตุที่เรียกว่าเป็นวันจาตุรงคสันนิบาต (จาตุร แปลว่า 4 องค์ แปลว่า ส่วน และสันนิบาต แปลว่า ประชุม)  เพราะในวันนั้นมีเหตุอัศจรรย์เกิดขึ้น 4 ประการ คือ

  1. วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3
  2. พระสงฆ์ 1,250 รูป มาประชุมพร้อมกันโดยมิได้นัดหมาย ณ วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ เพื่อสักการะพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
  3. พระสงฆ์มาประชุมพร้อมกันล้วนเป็นพระอรหันต์ ผู้ได้อภิญญา 6
  4. เอหิภิกขุอุปสัมปทา คือ พระสงฆ์ทั้งหมดได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้า

หลักธรรมคำสอนที่ควรนำมาปฏิบัติ คือ โอวาทปาติโมกข์ ซึ่งเป็นหลักคำสอนเพื่อนำไปสู่ทางหลุดพ้น โดยมีหลักดังนี้

  1. อุดมการณ์ 4  ได้แก่

1.1.   ขันติ (ความอดทนอดกลั้น) ทั้งกาย วาจา ใจ

1.2.   นิพพานเป็นเป้าหมายสูงสุดของออกบวช เพื่อการหลุดพ้นจากสังสารวัฏ

1.3.   ไม่เบียดเบียนผู้อื่นให้ทุกข์กาย ทุกข์ใจ

1.4.   พึงมีจิตใจที่สงบ ละจากอกุศลทั้งปวง ได้แก่ ความโลภ ความโกรธ และความหลง เป็นต้น

  1. หลักการ 3 ได้แก่ ศีล สมาธิ และปัญญา คือ

2.1.   ไม่ทำบาปทั้งปวง

2.2.   การทำกุศลให้ถึงพร้อม

2.3.   การทำจิตใจให้บริสุทธิ์

  1. วิธีการ 6 ได้แก่

3.1.   การไม่กล่าวร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่กล่าวร้ายโจมตีดูถูกความเชื่อผู้อื่น)

3.2.   การไม่ทำร้าย (เผยแผ่ศาสนาด้วยการไม่ใช้กำลังบังคับข่มขู่ด้วยวิธีการต่างๆ)

3.3.   ความสำรวมในพระปาฏิโมกข์ (รักษาความประพฤติให้น่าเลื่อมใส)

3.4.   ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหาร (เสพปัจจัยสี่อย่างรู้ประมาณพอเพียง)

3.5.   ที่นั่งนอนอันสงัด (สันโดษไม่คลุกคลีด้วยหมู่คณะ)

3.6.   ความเพียรในอธิจิต (พัฒนาจิตใจเสมอมิใช่ว่าเอาแต่สอนแต่ตนเองไม่กระทำตามที่สอน)

กิจกรรมที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติในวันมาฆบูชา

     ตอนเช้า ทำบุญตักบาตร ไปวัดเพื่อฟังพระธรรมเทศนา และจัดสำรับคาวหวานเพื่อถวายภัตตาหารเพล

     ตอนบ่าย ฟังพระธรรมเทศนา เจริญสามาธิภาวนา

     ตอนค่ำ นำดอกไม้ ธูปเทียน ไปเวียนเทียนรอบพระอุโบสถ 3 รอบ โดยขณะเดินพึงทำจิตใจให้สงบให้ระลึกถึงพระพุทธคุณด้วยการสวดบทอิติปิโส (รอบที่ 1) ระลึกถึงพระธรรมคุณด้วยการสวดสวากขาโต (รอบที่ 2) ระลึกถึงพระสังฆคุณด้วยการสวดสุปฏิปันโน (รอบที่ 3) จากนั้นนำธูปเทียนดอกไม้ไปบูชาตามปูชนียสถานเป็นอันเสร็จพิธี

วันที่รำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

ประวัติวันครู

ปี พ.ศ. 2499 ในที่ประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศว่า

“ที่อยากเสนอในตอนนี้ก็คือว่า เนื่องจากผู้เป็นครูมีบุญคุณ เป็นผู้ให้แสงสว่างในชีวิตของเราทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าวันครูควรมี สักวันหนึ่งสำหรับให้บรรดาลูกศิษย์ทั้งหลายได้แสดงความเคารพ สักการะต่อบรรดาครูผู้มีพระคุณทั้งหลาย เพราะเหตุว่าสำหรับ คนทั่วไปถ้าถึงวันตรุษ วันสงกรานต์ เราก็นำเอาอัฐิของผู้มีพระคุณบังเกิดเกล้ามาทำบุญ ทำทาน คนที่สองรองลงไปก็คือครูผู้เสียสละ ทั้งหลาย ข้าพเจ้าคิดว่าในโอกาสนี้จะขอฝากที่ประชุมไว้ด้วย ลองปรึกษาหารือกันในหลักการ ทุกคนคงจะไม่ขัดข้อง”

จากแนวความคิดนี้ กอปรกับความเห็นของครูที่แสดงออกทางสื่อมวลชนและอื่นๆ ล้วนเรียกร้องให้มีวันครูเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชนเป็นอันมากในปีเดียวกันที่ประชุมคุรุสภาสามัญประจำปีจึงได้พิจารณาเรื่องนี้และมีมติเห็นควรให้มีวันครูเพื่อเสนอ คณะกรรมการอำนวยการต่อไป โดยได้เสนอหลักการว่า เพื่อจะได้ประกอบพิธีระลึกถึงคุณบูรพาจารย์ ส่งเสริมสามัคคีธรรมระหว่างครูและเพื่อส่งเสริม ความเข้าใจอันดีระหว่างครูกับประชาชน

การจัดงานวันครูได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 กระทรวงศึกษาธิการสั่งการให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าวได้ ในส่วนกลางใช้สถานที่ของกรีฑาสถานแห่งชาติเป็นที่จัดงานวันครูนี้ได้กำหนดเป็นหลักการให้มีอนุสรณ์งานวันครูไว้แก่อนุชนรุ่นหลังทุกปี อนุสรณ์ที่สำคัญคือ หนังสือประวัติครู หนังสือที่ระลึกวันครู และสิ่งก่อสร้างเป็นถาวรวัตถุ

การจัดงานวันครูได้ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงกิจกรรมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของสังคมตลอดเวลา ในปัจจุบันได้จัดรูปแบบ การจัดงานวันครูจะมีกิจกรรม 3 ประเภทหลักดังนี้

 

กิจกรรมทางศาสนา

พิธีรำลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์ ประกอบด้วยพิธีปฏิญาณตน การกล่าวคำระลึกถึงพระคุณบูรพาจารย์

กิจกรรมเพื่อความสามัคคีระหว่างผู้ประกอบอาชีพครู ส่วนมากเป็นการแข่งขันกีฬาหรือการจัดงานรื่นเริงในตอนเย็น

4 อย่างที่ต้องมีในวันไหว้ครู คือ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ข้าวตอก และดอกเข็ม

Cr. คุรุสภา